4.4 การพัฒนาโปรแกรมคำนวณและโครงสร้างควบคุมแบบทางเลือก

ตัวชี้วัด

ม.4-6/6 เขียนโปรแกรมภาษา

ม.4-6/8 ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

ม.4-6/12 ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เข้าใจโครงสร้างควบคุมแบบทางเลือก

2. พัฒนาโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้วยโปรแกรม Sharp Develop ได้

15line28ic6

Introduction…to…Content

1. นักเรียนลองร่วมกันทบทวนบทเรียนเรื่องการพัฒนาโปรแกรมด้วย SharpDevelop และโครงสร้างแบบลำดับ ที่ได้เรียนไปในครั้งที่ผ่านมาก่อนนะครับ เพราะเรื่องนี้มีความต่อเนื่องจากเรื่องที่ผ่านมาครับ

2. นักเรียนร่วมกันพิจารณาตัวอย่างโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ว่ามีการใช้เครื่องมือในในการออกแบบบ้าง และโปรแกรมมีการใช้ฟังก์ชันอะไรในการทำงานบ้าง

3. ครูและนักเรียนสรุปประเด็นการอภิปรายเพื่อนำไว้เปรียบเทียบกับองค์ความรู้ที่ได้หลังเรียนครับ

——————————————————————–

Learning

1. นักเรียนฟังครูอธิบายหลักการพัฒนาโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2. ครูสาธิตวิธีการเขียนโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยให้นักเรียนทำการออกแบบโปรแกรมให้เสร็จพร้อมๆ กัน จากนั้นจึงเริ่มสาธิตการเขียนโปรแกรมทีละขั้นตอน โดยให้นักเรียนปฏิบัติได้พร้อมกันทุกคน

3. ครูอธิบายความหมายของคำสั่งโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แต่ละบรรทัด

4. ครูให้นักเรียนทดลองรันโปรแกรม และใช้งาน พร้อมกับตรวจสอบว่าโปรแกรมที่นักเรียนพัฒนาขึ้นมานั้นมีข้อบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง

5. ครูแนะนำว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมี BUG หรือมีความไม่สมบูรณ์ คือ โปรแกรมไม่มีการตรวจสอบการรับค่าข้อมูลนำเข้ามาผู้ใช้โปรแกรมใส่ข้อมูลครบหรือไม่

6. ครูให้นักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่า จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้นได้ด้วยวิธีการอย่างไรได้บ้าง

7. ครูแนะนำว่าสามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้จากการใช้โครงสร้างควบคุมแบบทางเลือกเข้าไปช่วยในการเขียนโปรแกรม

  • ตัวอย่างโปรแกรมที่ไม่มีการแจ้งเตือน คลิกที่นี่ และตัวอย่างโปรแกรมที่มีการแจ้งเตือน คลิกที่นี่
  • เอกสารบรรยายการเขียนโปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ คลิกที่นี่

8. ครูสาธิตวิธีการเพิ่มคำสั่งโครงสร้างควบคุมแบบทางเลือก หรือคำสั่ง IF-Else เพื่อตรวจสอบการรับค่าเข้าสู่โปรแกรม

9. นักเรียนปฏิบัติตามทีละขั้นตอน

10. ครูอธิบายความหมายของคำสั่งแต่ละบรรทัด

11. ภาระงาน : นักเรียนฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มเติมอีกให้ครบ 5 สูตร โดยใช้สูตรการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงในวิชาฟิสิกส์

สำหรับห้อง 415 (วมว. เท่านั้น)

เนื่องจากห้อง 415 ไม่มีการทำงานบูรณาการชิ้นงาน ดังนั้นคะแนนนักเรียนจะหายไป 10 คะแนน ครูจึงขอมอบหมายงานให้นักเรียนทำเพิ่มเติมในห้องเรียน ดังนี้

งานชิ้นที่ 1 (5 คะแนน) เขียนโปรแกรมคำนวณสูตรทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์จำนวน 5 สูตร (นักเรียนเลือกสูตรเองได้เลยครับ)

งานชิ้นที่ 2 (5 คะแนน) เขียนโปรแกรมตัดเกรด

——————————————————————–

Conclusion

1. นักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การใช้คำสั่ง IF-Else

2. ครูสรุปองค์ความรู้เพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังสรุปไม่ครบถ้วน

Add Comment

Required fields are marked *. Your email address will not be published.