การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
1) ควรตั้งเครื่องให้ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. เพื่อให้อากาศถ่ายเทและลดความร้อนภายในเครื่อง
2) ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ที่มีฝุ่นละอองมาก (วางใต้โต๊ะมีฝุ่นมากกว่าวางบนโต๊ะ), อุณหภูมิไม่คงที่, มีแสงแดดส่อง , มีความชื้นสูง , มีการสั่นสะเทือนบ่อย , ใกล้กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงสนามแม่เหล็ก
3) ไม่ควรวางสิ่งของไว้ปิดช่องระบายอากาศของจอภาพและตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
4) ไม่ควรนำน้ำ กาแฟ หรือของเหลวอื่นๆ มาตั้งใกล้เครื่อง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เครื่องเสียหายได้
5) ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถอดสายใด ๆ ที่ต่อเชื่อมกับเครื่องขณะกำลังเปิดใช้งานอยู่
6) ควรต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับ UPS หรือ STABILAZER หากกระแสไฟฟ้าไม่คงที่
7) หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่ควรเปิดเครื่องโดยทันที ให้รอสักประมาณ 1 นาที จึงเปิดเครื่องใหม่ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจทำให้เครื่องเสียง่าย
8) ควรมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส/สปายแวร์ และต้องอัพเดทฐานข้อมูลไวรัส (Signature Database) อยู่เสมอ
9) หากมีปัญหาเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญก่อนดำเนินการด้วยตนเอง
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แบ่งออกเป็นหลักๆได้ 3 อย่าง คือ
1) (Hardware) หรือพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใน และภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
2) (Software) พวกโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
3) (Peopleware) คือ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ต้องระมัดระวังในการใช้งาน
- การดูแลรักษา ทางด้านฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
1.1 เรื่องความสะอาดภายในเครื่อง คือ ฝุ่น, ใยผ้า, ใยแมงมุม, เส้นผม พวกนี้มันจะไปเกาะอยู่ที่ซิงค์ระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อนของอุปกรณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ควรดูแลทำความสะอาด เรื่องนี้ให้ความสำคัญมากหน่อย ทำให้อายุการใช้งานมากขึ้น
1.2 ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้ วางบนโต๊ะดีกว่าวางกับพื้นเพราะพื้นมีฝุ่นมากกว่า หรือระหว่างการใช้งาน ขาหรือเท้า อาจไปกระแทรกกับเครื่องส่งผลทำให้เครื่องทำงานผิดพลาดได้
1.3 สังเกตสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ลองเปิดฝา สังเกตดูภายใน ตัวอุปกรณ์ ว่ามีรอยไหม้ หรือที่ตัวอุปกรณ์อิเลิกทรอนิคส์ เช่น ตัวคาปาซิสเตอร์ ( ตัวทรงกระบอกที่หัวมีกากบาทที่บนหัว ) ว่ามันบวมๆ ทำถ้าจะพุพองออกมารึเปล่า มีน้ำยาเยิ้มออกมาไหม ถ้าเจอว่ามี รีบส่งซ่อมเลยนะครับ เดี๋ยวคอมพิวเตอร์เราจะเสียมากกว่าเดิม แล้วก็พวกพัดลมต่างๆในเครื่องว่าหมุนดี ทุกตัวรึเปล่า ตัวไหนหยุดหมุน ก็เปลี่ยนได้ เนื่องจากความร้อนสะสมภายในจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง หรือทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
- การดูแลรักษา ทางด้านซอฟแวร์( Software )
เรื่องซอฟแวร์ มีโอกาสเจอปัญหาได้หลายรูปแบบ
2.1 การลงโปรแกรม อันไหนไม่ใช้ก็ไม่ต้องลง ลงเฉพาะที่เราใช้ เอาโปรแกรมเข้าๆออกๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ บางทีเครื่องอืดไปเลยก็มี แฮงค์ๆ ค้างๆ บางโปรแกรมกลับใช้ไม่ได้อีก ทางที่ดีก็ลงเท่าที่ใช้และจำเป็นก็พอ พวกเกมก็เหมือนกัน กินพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เยอะ เดี๋ยวพื้นที่จะน้อยเกินไปจนวินโดว์ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะในไดร์ฟซี ระวังๆ ตรวจสอบดูพื้นที่เหลือบ้าง ก่อนจะลงโปรแกรมอะไรลงไป
2.2 การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บในไดร์ฟซี ให้เก็บไปไว้อีกไดร์ฟ ที่เราได้แบ่งฮาร์ดดิสก์เอาไว้ เป็นที่สำรองข้อมูลของเรา ปกติ ไดร์ฟ C เป็นไดร์ฟที่ลงโปรแกรมเสมอ เวลามีปัญหาไดร์ฟซีก็โดนก่อน ฉะนั้นควรเก็บไปไว้ที่อื่นแทน ข้อมูลจะได้ไม่หาย ไดร์ฟ C ก็ไม่เต็มเร็วด้วย โดยเฉพาะ เพลง หนัง ภาพถ่าย จะกินพื้นที่เยอะมาก
2.3 รู้จักสังเกตโปรแกรมแปลกๆ โปรแกรมแปลกๆที่เราไม่เคยเห็นในเครื่องเราตั้งแต่แรกๆ ที่เราใช้ ถ้ารู้ว่าเป็นโปรแกรมอะไร และไม่จำเป็นก็เอาออกไปเลย แต่ถ้าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ก็ไม่ว่ากัน บางทีติดมากับตอนที่เราเล่นเน็ต ตอนที่เราคลิก next Yes Ok คลิกแบบไม่ได้อ่านว่ามันคืออะไร หรือว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจแปลไม่ออก ก็อย่ากด Yes Ok แต่ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ Cancal ดีกว่า
2.4 เว็ปยอดฮิต เว็ปดาว์นโหลด เว็ปลามก เว็ปแจกของฟรี เว็ปโปรแกรมพวกแฮกเกอร์ (พวกเจาะระบบ) เป็นต้นครับ ไวรัสคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ มันจะมากับเว็ปพวกนี้เยอะ ถ้าอยากเข้าก็หาวิธีป้องกันไว้บ้างก็ดี หรือเวลามีข้อความแสดงให้ Yes หรือ No ก็อ่านหน่อย อย่าคลิกมั่ว บางทีมีหลอกให้เราคลิกก็มี เพราะโดยส่วนใหญ่พวกเราเห็นแบบนี้ คลิก Yes ไว้ก่อนเสมอเลย ติดไวรัส ติดสปายแวร์ ติดโปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ เข้ามาในคอมพิวเตอร์เราเฉยเลย ดูดีๆ ก่อนคลิก
2.5 ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ดักจับ ไวรัส โปรแกรมจำพวกนี้ควรที่จะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา มีหลายแบบ ทั้งเสียเงิน ไม่เสียเงิน ก็มี แต่ที่แนะนำช่วงนี้ ก็มี NOD32 ลองไปหามาใช้กัน โปรแกรมไม่ใหญ่ เครื่องไม่อืด ใช้งานง่าย และอย่าลืมอัพเดตข้อมูลไวรัสให้โปรแกรมด้วย จะได้รู้จักไวรัสตัวใหม่ๆ ปกติแล้วไวรัสมันเกิดก่อนตัวป้องกันจะมา ถ้าป้องกันแล้วยังโดนอีก ก็ถือเป็นเรื่องปกติครับ ก็ต้องแก้ไขกันไป แต่อย่างไรก็ตาม ไวรัส กับ คอมพิวเตอร์ มันเป็นของคู่กัน มันหนีกันไม่พ้น
2.6 การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน อันนี้ควรทำให้สม่ำเสมอ การใช้งานโปรแกรมจะได้ไม่อืด ไม่ช้า เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไปในตัวด้วย สิ่งที่ทำเช่น Disk Cleanup (เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิสก์ ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็วในการอ่านข้อมูล )
- พีเพิลแวร์ (Peopleware )
บุคคล หรือผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เรามาดูกันว่าอะไรบ้างที่ควรรู้ ควรกระทำ ควรแก้ไข
3.1 การอ่าน อ่านก่อนคลิก มีอะไรเด้งมา อ่านสักนิด จะได้รู้ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ภาษอังกฤษ คำศัพท์มันจะซ้ำๆกัน ถ้าแปลไม่ได้จริงๆ ปัจจุบันมีโปรแกรมแปลหลายแบบ ที่แปลแล้วอาจไม่ตรงแต่ก็พอจะเดาๆ ได้ ถ้าไม่ได้จริงๆก็ถามจากผู้รู้ อย่างน้อยก็รู้ว่าจะทำยังไงต่อไป
3.2 อารมณ์ ประเภทเปิดไม่ทันใจ หรือค้าง ก็เคาะคีย์บอร์ดแรงๆ กระแทกเมาส์แรงๆ ดับเบิ้ลคลิกถี่ๆ มันไม่ได้ช่วยให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น แต่กลับช้ามากขึ้น ถึงขั้นเครื่องค้างไปเลย
3.3 การทำโดยไม่มีความรู้ หรือ มั่ว เจอบ่อยประเภทไม่รู้แล้วมั่ว ไหนจะมั่วก็ให้มั่วแบบมีหลักการ โดยเฉพาะเรื่องการต่ออุปกรณ์ การใช้งานอุปกรณ์ หรือ ต่ออุปกรณ์เสริมต่อพ่วงต่างๆ ก่อนใช้งาน อ่านดูจากคู่มือก่อนใช้งานสักหน่อย ผิดเดี๋ยวอุปกรณ์พังกันเป็นแถบๆ เช่นช่องเสียบใส่ไม่เข้า ก็พยามฝืนอัดเข้าไปแบบนี้เป็นต้น หรือในด้านการใช้งานโปรแกรม การดาว์นโหลดโปรแกรม จากเว็บไซต์ ต้องระวังให้มาก